เทคนิคการออกแบบระบบไฮดรอลิคให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน
5 ทริคออกแบบระบบไฮดรอลิคให้ทำงานเข้ากับเครื่องจักรและได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจุบัน ระบบไฮดรอลิคได้รับความนิยมใช้งานในอุตสาหกรรมและในเครื่องจักรหลาย ๆ ประเภท ด้วยคุณสมบัติในการใช้งานที่ดีเยี่ยม ประกอบกับการออกแบบระบบไฮดรอลิคในปัจจุบัน ที่ก้าวหน้าไปมาก จนสามารถตอบสนองความต้องการใช้งานในอุตสาหกรรมและเครื่องจักรหลายๆประเภทได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ และยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้ระบบไฮดรอลิคได้รับความนิยม เช่น ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทนทานต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มี อุณหภูมิสูง ความดันสูง บำรุงรักษาง่าย ที่สำคัญ คือ การออกแบบ ซึ่งการออกแบบระบบไฮดรอลิค นั้นสามารถออกแบบให้ทำงานร่วมกับเครื่องจักรได้หลากหลาย
ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงมีการประยุกต์ใช้งานระบบไฮดรอลิคกันอย่างแพร่หลาย โดยนิยมว่าจ้างให้ผู้ผลิตและจำหน่าย ออกแบบระบบไฮดรอลิค เพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมและเครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ที่มีการใช้งานระบบไฮดรอลิคจะเป็นภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก บรรจุภัณฑ์ การพิมพ์ อาหารและยา สินค้าอุปกรณ์และบริโภค อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อะไหล่ ก่อสร้าง การเดินเรือ และด้วยความหลากหลาย จึงทำให้การออกแบบระบบไฮดรอลิค มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้กระบอกไฮดรอลิคที่ผลิตออกมาใช้งานในเครื่องจักรแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม
ระบบไฮดรอลิค คืออะไร
ระบบไฮดรอลิก(Hydraulic System) คือ การไหลของ “ของเหลว” ทุกชนิดที่ใช้ในระบบ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ หรือ น้ำมัน เพื่อเป็นตัวกลางการถ่ายทอดกำลังในการเปลื่ยนแปลงกำลังงานของไหลให้เป็นพลังงานกล ส่งผลให้กระบอกสูบไฮดรอลิก (Actuator or Hydraulic Cylinder) และ มอเตอร์ ไฮดรอลิก (Hydraulic Motor) ทำงาน ส่วนการออกแบบระบบไฮดรอลิค คือขั้นตอนการวิเคราะห์เครื่องจักรที่จะนำระบบไฮดรอลิคไปติดตั้ง เพื่อคำนวณความต้องการที่เหมาะสมกับเครื่องจักร เช่น แรงและความเร็วที่เหมาะสมกับเครื่องจักร การเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระบบไฮดรอลิค รวมไปถึงการออกแบบวงจรควบคุมการทำงาน ระบบไฮดรอลิค
5 เทคนิคออกแบบระบบไฮดรอลิคให้ใช้งานกับเครื่องจักรแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม
การออกแบบระบบไฮดรอลิคมีความสำคัญอย่างมากกับการใช้งาน เนื่องจากมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และความปลอดภัยของเครื่องจักร เพราะการออกแบบระบบไฮดรอลิค ที่ถูกต้องช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยในการใช้งาน และยังมีผลต่อความเสถียรในการทำงาน ความทนทานและความยาวนานของระบบ ซึ่งจะส่งผลถึงความคุ้มค่าในการลงทุนของเจ้าของกิจการด้วย ดังนั้นการออกแบบระบบไฮดรอลิค จึงจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ความรู้ความสามารถและเทคนิคการออกแบบของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาใช้ โดย 5 เทคนิคการออกแบบให้ระบบไฮดรอลิคให้ทำงานร่วมกับเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย
- การวิเคราะห์ความต้องการ โดยความต้องการที่กล่าวถึง คือ รายละเอียดของวัสดุ ขนาดของกระบอกไฮดรอลิค ปริมาณแรง ความเร็วที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องจักร เพื่อให้สามารถออกแบบระบบไฮดรอลิค รองรับความต้องการของเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น ขั้นตอนการวิเคราะห์ จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการออกแบบระบบไฮดรอลิค เพราะในขั้นตอนนี้จะมีการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบด้านเพื่อให้ได้กระบอกไฮดรอลิคที่สามารถใช้กับเครื่องจักรที่เหมาะสมในแต่ละประเภท
- การเลือกอุปกรณ์ การเลือกอุปกรณ์ควรเลือกให้ตรงความต้องการของเครื่องจักร เพราะหลังจากรู้ถึงความต้องการด้านต่าง ๆ ของเครื่องจักรในขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการแล้ว จะทำให้ผู้ออกแบบระบบไฮดรอลิค รู้ว่าจะควรเลือกใช้อุปกรณ์ไฮดรอลิค ที่มีขนาดเท่าไหร่ มีปริมาณแรง ความเร็ว อัตราการโหลดของกระบอกสูบไฮดรอลิคเท่าไหร่ รวมถึงการเลือกปั๊มไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่งถ่ายพลังงานในระบบไฮดรอลิค ควรเลือก ปั๊มที่มีขนาดความดัน ที่มีความเหมาะสมกับเครื่องจักร เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะปั๊มไฮดรอลิคมีหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีอัตราการไหล ความดันที่ต่างกัน
- การออกแบบวงจรไฮดรอลิค เนื่องจากวงจรไฮดรอลิคเป็นแผนผังที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของอุปกรณ์ทั้งระบบ จึงมีความสำคัญในออกแบบระบบไฮดรอลิค เพราะวงจรที่ออกแบบนั้นต้องเหมาะสมกับความต้องการของเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ทั้งนี้ ระบบควบคุมที่ดีจะทำให้สามารถควบคุมการทำงานของระบบไฮดรอลิคอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบควบคุมที่ดีจะช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และยังลดความเสียหายของอุปกรณ์ และโอกาสการเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย
- การทดสอบวงจรและอุปกรณ์ไฮดรอลิค หลังการออกแบบระบบไฮดรอลิค และประกอบกระบอกไฮดรอลิคเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การทดสอบการออกแบบวงจรและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการคำนวณและวิเคราะห์ ระบบการทำงานทั้งหมดว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานเข้ากับเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ โดยในการคำนวณค่าต่าง ๆ จะต้องมีการวิเคราะห์อย่างละเอียด เช่น อัตราการไหล ความดัน กำลัง แรงเสียดทาน เพื่อตรวจสอบว่าออกแบบระบบไฮดรอลิค ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยก่อนนำไปติดตั้งให้กับเครื่องจักรจริงๆ
- การแก้ไขและปรับแต่ง หลังจากคำนวณและวิเคราะห์ และทำการทดสอบระบบเพื่อตรวจสอบว่าระบบไฮดรอลิคทำงานได้ตรงกับที่มีการออกแบบหรือไม่แล้ว หากพบว่าเกิดปัญหาในการทำงานของระบบไฮดรอลิคผู้ออกแบบระบบไฮดรอลิค อาจต้องมีการแก้ไขการออกแบบ หรือปรับระบบไฮดรอลิคให้เหมาะสมกับเครื่องจักร เช่น กรณีที่ปรับแต่งเพื่อลดการสูญเสียพลังงาน การปรับแต่งอัตราความเร็ว อัตราการโหลดของกระบอกไฮโอรลิค ฯลฯ
นอกจาก เทคนิคการออกแบบข้างต้นแล้ว สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ได้มาซึ่งระบบไฮดรอลิคที่ดี ผู้ออกแบบระบบไฮดรอลิคควรคำนึงถึง คือ ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานของระบบไฮดรอลิค และที่สำคัญคือ ความเข้ากับหรือความเหมาะสมของการทำงานของระบบไฮดรอลิคกับเครื่องจักร ซึ่งจะทำให้ มีความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยสูง ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของระบบไฮดรอลิค หรือเกิดการบาดเจ็บ เสียหายแก่ทรัพย์สินและร่างกายของผู้ใช้งานด้วย
เกณฑ์และข้อปฏิบัติในการออกแบบกระไฮดรอลิค
การออกแบบระบบไฮดรอลิค นั้นมีขั้นตอนและรายละเอียดที่ซับซ้อนสูง ดังนั้นในการออกแบบจึงต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในระบบไฮดรอลิค หรือมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ออกแบบพึงระลึกไว้เสมอเมื่อทำการออกแบบระบบไฮดรอลิค คือ ความละเอียดรอบคอบ และปฏิบัติตามเกณฑ์การออกแบบอย่างเคร่งครัด เพราะในกระบวนการออกแบบระบบไฮดรอลิค มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง หากละเลยรายละเอียดเล็ก ๆ น้อยๆ ไป โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดจะเพิ่มสูงขึ้น โดยข้อปฏิบัติหรือเกณฑ์การออกแบบระบบไฮดรอลิคประกอบด้วย
ต้องรู้ว่าระบบไฮดรอลิคที่ออกแบบนั้น จะนำไปใช้งานทำอะไร ใช้งานในสภาพแวดล้อมอย่างไร ต้องรับน้ำหนักมากหรือน้อยเท่าไหร่ และใช้กับเครื่องจักรประเภทใด เพราะสภาพการทำงานที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงเมื่อต้องออกแบบระบบไฮดรอลิค
ระยะการลาก หรือ ช่วงชักของกระบอกไฮดรอลิค เพื่อให้ผู้ออกแบบระบบไฮดรอลิคสามารถกำหนดระยะการลาก ได้ตรงตามความต้องการใช้งานได้เหมาะสมกับเครื่องจักรแต่ละประเภท เพราะหากไม่รู้ถึงช่วงการชักของกระบอกไฮดรอลิค หากออกแบบให้กระบอกไฮดรอลิคมีช่วงชักยาวเกินไปอาจมีผลต่อการใช้งานที่ถูกต้อง
ความเร็วในการส่งพลังงานของระบบไฮดรอลิค เพื่อให้ผู้ออกแบบระบบไฮดรอลิค สามารถเลือกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ หรือกระบอกสูบได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น ในการออกแบบระบบไฮดรอลิค จึงจำเป็นต้องรู้ถึงความต้องการ การใช้ความเร็วของการเคลื่อนของระบบว่าต้องการความเร็วระดับใด เพราะหากระบบส่งพลังงานมีความเร็วที่มากเกินกว่าค่าความต้องการ หรือเกินกว่ามาตรฐาน อาจเกิดความเสียหายต่อซีลของกระบอกสูบไฮดรอลิคได้ และมีผลต่ออุณหภูมิของระบบไฮดรอลิคทั้งหมดก็สูงตามไปด้วย
รูปแบบการติดตั้ง เพราะการติดตั้งระบบไฮดรอลิค ประเภทต่างๆ จะมาพร้อมกับประโยชน์และข้อจำกัด โดยรูปแบบการติดตั้งระบบไฮดรอลิคมีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 1.รูปแบบคงที่ (Fixed style) 2.รูปแบบเดือย (Pivot style) และ3 เป็นรูปแบบที่สามารถรองรับกระบอกสูบไฮดรอลิคได้ทุกประเภท
รู้ขนาดกระบอกสูบ เนื่องจากขนาดของกระบอกไฮดรอลิค มีความสัมพันธ์กับแรงดันในการใช้งาน โดยแรงผลักและแรงดึงที่เหมาะสม คือ ตัวแปรที่กำหนดขนาดกระบอกสูบไฮดรอลิคที่ต้องการ หรือออกแบบระบบไฮดรอลิคให้เหมาะสมในการติดตั้งใช้งานในเครื่องจักร
สำหรับท่านที่กำลังมองหา หรือต้องการใช้บริการออกแบบระบบไฮดรอลิค บริษัท ตะโกราย โฮดรอลิค จำกัด คือ ผู้ผลิตและออกแบบระบบไฮดรอลิค ดั้มลานเคลื่อนที่ ฟลัชชิ่งระบบไฮดรอลิค แท่นยกไฮดรอลิค เครื่องอัดเศษเหล็ก เครื่องกดเสาเข็มไฮดรอลิค สำหรับงานอุตสาหกรรม สินค้าของเรา กระบอกไฮดรอลิค truck dumper ชุดต้นกำลังไฮดรอลิค เครื่องอัดเศษเหล็ก Dock Levelers โดยท่านที่สนใจใช้บริการออกแบบระบบไฮดรอลิค สามารถติดต่อขอข้อมูลและใช้บริการได้ที่
สนใจบริการออกแบบระบบไฮดรอลิคให้ได้เต็มประสิทธิภาพติดต่อ
Tel : 083 128 7002 , 089 583 7464
Facebook : https://www.facebook.com/TAKORAIHYDRUALIC
Email : panumas@takoraihyd.com